วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีลอยกระทง

"สวัสดีค่ะ" ดิฉันกลุ่ม K2J มีสมาชิกกลุ่มดังนี้
ด.ญ.ชมพูนุช แซ่ซัง , น.ส.กิ่งกาญจน์ ทัดเที่ยง ,และดิฉัน ด.ญ.กรกนก โล่ห์ประเสริฐ
กลุ่มของดิฉันได้มาถ่ายทำและนำเสนอประวัติความเป็นมา ความเชื่อ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำกระทง

ชมพูนุช : ประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงจัดขึ้นเพื่อเป็นขอขมาต่อแม่พระคงคา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 อยู่ในเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมานานตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป"

กรกนก : ความเชื่อของประเพณีลอยกระทง เชื่อกันว่าเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่คนเราได้ใช้น้ำ ในการอุปโภคและบริโภค

ชมพูนุช : วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำกระทง
วัสดุอุปกรณ์ : 1.ท่อนกล้วย 2.ใบตอง 3.เข็ม ด้าย 4.ดอกไม้ 5.ธูปเทียน ฯลฯ
วิธีทำ : 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2. พับใบตองตามรูปที่ต้องการ จากนั้นนำมาวางซ้อนแล้วเย็บให้สวยงาม
3. นำไปติดรอบฐานท่อนกล้วย
4.จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป

วันที่ถ่ายทำ : วันอาทิตย์ ที่ 21 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2553
สถานที่ : ณ งานวันลอยกระทง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"และ:"นายนพมาศ"

ความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล





สถานที่ถ่ายทำคือ นิทรรศการวันลอยกระทง
วันที่ถ่ายทำ วันอาทิตย์ ที่ 21 เดือน พฤษจิกายน พ.ศ.2553
นำเสนอโดย
น.ส.กิ่งกาญจน์ ทัดเที่ยง ม.3/2 เลขที่ 22 ผู้ถ่าย
ด.ญ.กรกนก โล่ห์เสริฐ ม.3/2 เลขที่ 10 ผู้นำเสนอ
ด.ญ.ชมพูนุช แซ่ซัง ม.3/2 เลขที่ 17 ผู้นำเสนอ
และเพื่อนๆต่างโรงเรียน